มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับรองเท้าผ้าใบเพื่อความปลอดภัย

มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับรองเท้าผ้าใบ หรือ JSAA นั้น คือมาตรฐานที่ถูกสร้างขึ้นโดยอ้างอิงจากมาตรฐาน JIS เพื่อคุณสมบัติป้องกันนิ้วเท้า
โดยมีคุณสมบัติเดียวกับรองเท้านิรภัยชนิด S (รองเท้านิรภัยสำหรับงานทั่วไป) และ L (รองเท้านิรภัยสำหรับงานเบา)

1. JIS (Japanese Industrial Standard)

เป็นมาตรฐานสำหรับรับรองรองเท้านิรภัยที่ปกป้องนิ้วเท้าของผู้สวมใส่
ซึ่ง JIS จะมีมาตรฐานที่เข้มงวดและ ปลอดภัยมากกว่ามาตรฐานของ JSAA
โดย JIS จะทดสอบรองเท้านิรภัย (safety shoes)

 

ตามลักษณะการใช้งานเป็น 4 ประเภท

  • รองเท้านิรภัยสำหรับงานหนักพิเศษ (U)
  • รองเท้านิรภัยสำหรับงานหนัก (H)
  • รองเท้านิรภัยสำหรับงานทั่วไป (S)
  • รองเท้านิรภัยสำหรับงานเบา (L)

 

การทดสอบจะใช้มาตรฐาน JIS T8101

  • ความทนต่อแรงกระแทกของหัวรองเท้า (impact efficiency test)
  • ความทนต่อแรงกดทับ (compression efficiency test)
  • ความติดแน่นระหว่างพื้นรองเท้า กับหนังส่วนบน (separation efficiency test)
  • การต้านการเจาะทะลุ (Puncture resistant test)
  • การต้านทานการลื่น (anti slip efficiency test)
  • การต้านทานไฟฟ้าสถิต (Anti-static efficiency test)
  • การดูดซับแรงกระแทก (Shock absorbing efficiency test)
  • การต้านแรงกระแทกของอุปกรณ์ป้องกันหลังเท้า
    (impact resistant test on upper)

2.JSAA (Japanese Safety Appliances Association)

มาตรฐาน JSAA เป็นมาตรฐานเฉพาะสำหรับรองเท้านิรภัย ประเภทรองเท้าผ้าใบ หรือจะเรียกอีกอย่างว่า “รองเท้าผ้าใบเพื่อความปลอดภัย” ซึ่งมาตรฐาน JSAA จะรับรองลักษณะการใช้งาน 2 ประเภท คือ สำหรับงานทั่วไป (A) และงานเบา (B) และผลการทดสอบจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน JIS T8101 งานทั่วไป (S) และงานเบา (L)

  • ประเภท A สำหรับงานทั่วไป
  • ประเภท B สำหรับงานเบา

 

ระบบการรับรองของรองเท้าผ้าใบสำหรับความปลอดภัย (pro sneakers) ตามมาตรฐานของ JSAA จะมีการติดฉลาก และป้ายแสดงเครื่องหมายที่รับรองโดยองค์กรณ์ภาคเอกชนของญี่ปุ่น(Japan Safety Appliances Association) โดยจะระบุลักษณะการใช้งานของรองเท้าด้วย เช่น JSAA A(สำหรับงานทั่วไป) หรือ JSAA B (สำหรับงานเบา)

การทดสอบของมาตรฐาน JSAA

1.การต้านแรงกระแทกที่นิ้วเท้า (impact efficiency test)

2.การต้านแรงอัดที่นิ้วเท้า (compression efficiency test)

3.การต้านการแยกออกของด้านหน้ารองเท้า และพื้นรองเท้า (separation efficiency test)

3.ลักษณะการใช้งานของรองเท้า Pro sneakers
& boots ของ Type A และ Type B

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรองเท้านิรภัย (Safety shoes) ที่ได้มาตรฐาน JIS รองเท้าผ้าใบโปรสนีกเกอร์(Pro sneakers) และ รองเท้าโปรบู๊ต(Pro boots) ที่ได้รับมาตรฐาน JSAA ถูกออกแบบ
มาอย่างอิสระในการใช้วัสดุทำทั้งหัว ด้านหน้ารองเท้า และพื้นรองเท้า ซึ่งลักษณะภายนอกรองเท้าไม่แตกต่างจากรองเท้าผ้าใบทั่วไปสักเท่าใด เช่น มีน้ำหนักเบา ใส่สบาย และออกแบบอย่าง
มีดีไซน์ แต่อย่างไรก็ตามวัสดุด้านหน้ารองเท้าของ Pro sneakers และ Pro boots จะมีคุณสมบัติด้านความทนทานต่ำกว่ารองเท้านิรภัย (Safety shoes) ที่ทำจากหนัง ยาง หรือโพลีเมอร์
ดังนั้นการทำงานในสถานที่ที่ทำงานหนัก เราอาจจำเป็นต้องเลือกใช้รองเท้านิรภัย (safety shoes) ขณะในที่สถานที่ทำงานเบา ให้เราเลือกใช้รองเท้าผ้าใบ Pro sneakers หรือ Pro boots

3.1ความแตกต่างระหว่างรองเท้านิรภัย (safety shoes) กับ รองเท้าผ้าใบเพื่อความปลอดภัย (Pro sneakers) 

ตามมาตรฐานคุณสมบัติการปกป้องนิ้วเท้า (Compressing and impacting) และความทนทานต่อการแยกออกของด้านนอกของพื้นรองเท้า (separating) เราจึงต้องเลือกลักษณะการใช้งานตามประเภทของรองเท้าตามรายละเอียดมาตรฐานของรองเท้า Pro sneakers และ Pro boots ระหว่าง Type A (งานทั่วไป) และ Type B (งานเบา) นอกจากมาตรฐานรองเท้าผ้าใบเพื่อความปลอดภัยที่มีการแบ่งประเภทการใช้งานเป็น ชนิด A และชนิด B แล้ว ยังมีความแตกต่างเกี่ยวกับงานที่จะนำไปใช้ ซึ่งแนะนำตามที่มี หรือไม่มีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้

รูปแบบลักษณะงานต่างๆ

4.คุณสมบัติด้านความปลอดภัยของรองเท้าสำหรับปกป้องเท้า

มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับรองเท้าผ้าใบ หรือ JSAA นั้น คือมาตรฐานที่ถูกสร้างขึ้นโดยอ้างอิงจากมาตรฐาน JIS เพื่อคุณสมบัติป้องกันนิ้วเท้า
โดยมีคุณสมบัติเดียวกับรองเท้านิรภัยชนิด S (รองเท้านิรภัยสำหรับงานทั่วไป) และ L (รองเท้านิรภัยสำหรับงานเบา)

มี 9 คุณสมบัติที่จะช่วยปกป้องเท้าของคุณอย่างสมบูรณ์แบบ

1. รองเท้าถูกออกแบบมาเพื่อให้มีน้ำหนักเบา และไม่เมื่อยล้าง่ายหากใส่เป็นระยะเวลานาน

 

2. เป็นสไตล์รองเท้าผ้าใบที่เรียบง่าย และใส่สบาย

 

3. ในส่วนของหัวรองเท้า (Toe cap) จะช่วยปกป้องนิ้วเท้า เมื่อมีสิ่งของหล่นทับ หรือหล่นใส่

 

4. วัสดุด้านหน้ารองเท้า และ พื้นรองเท้าด้านนอกมีความทนทานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

 

5. คุณสมบัติของการรองรับ (cushion) เท้าเป็นอย่างดี

 

6. ให้ความรู้สึกสบาย และไม่อึดอัดขณะใส่

 

7. มีโครงสร้างที่ลดแรงกระแทกที่ส้นเท้า

 

8. มีวัสดุที่ช่วยสะท้อนแสง

 

9. มีโครงสร้างที่ช่วยคำนึงถึงการลดการเกิดเหงื่อที่เท้าขณะสวมใส่