เป็นปรากฎการณ์ที่ยูรีเทนเรซินด้านนอกของพื้นรองเท้าทำปฏิกิริยากับน้ำในอากาศ ทำให้พันธะโมเลกุลแยกสลายตัว แตกร่วง หรือเหนียวขึ้น รองเท้าที่ใช้ยูรีเทนเป็นวัสดุด้านหน้ารองเท้าก็อาจเกิดการแยกสลายตัวด้วยน้ำเช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับรองเท้า
เมื่อเราใช้รองเท้า เราควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก หากถูกกระแทก หรือกดอัดอย่างรุนแรง หากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ แนะนำให้เปลี่ยนรองเท้าทันที นอกจากนี้หากด้านนอกของพื้นรองเท้าสึกมากๆ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้ม หรือสะดุดล้มได้ จึงแนะนำให้เปลี่ยนทันทีเช่นกัน
แผ่นรองเท้าด้านใน (insole) ที่ช่วยรักษาคุณภาพของส่วนนิ้วเท้า (Toe cap) ของรองเท้า สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันจากผู้ผลิตรองเท้าที่ใช้งานอยู่ อย่างเช่น รองเท้าที่มีคุณสมบัติด้านไฟฟ้าสถิตย์ที่จำเป็นต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านระหว่างพื้นรองเท้าส่วนกลาง และแผ่นรองพื้นรองเท้าด้านใน ดังนั้นมันจะดีกว่าหากเราซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตเดียวกัน
คือ ป้ายรับรองว่าผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน JSAA (Japan Safety Appliance Association) เนื่องจากรองเท้าผ้าใบเพื่อความปลอดภัยที่คุณภาพไม่ดีในท้องตลาดมีเป็นจำนวนมาก ทางสมาคมจึงสำรวจในตลาดเพื่อหาข้อต่างของสินค้าที่ไม่ผ่านคุณภาพ เพื่อเอามาพัฒนา ใส่ใจในการผลิต และจำหน่ายรองเท้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้น รองเท้าที่ผ่านมาตรฐานการรับรองจาก JSAA จึงมีป้ายติดที่ผลิตภัณฑ์ .