รู้จักรองเท้าที่เหมาะกับตัวเอง

การเลือกใส่รองเท้าเป็นสิ่งที่สำคัญ หากใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้าไม่ว่าจะมีคุณสมบัติ
ดีมากน้อยแค่ไหนก็ตามก็อาจทำให้ไม่มีประสิทธิผลเพียงพอต่อการใส่ขณะใช้งานได้

เริ่มจากการรู้จักรูปเท้าของตัวเองก่อน 

การรู้จักความกว้าง และความแคบของเท้าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะเท้าของแต่ละคนมีรูปทรงแตกต่างกัน มีทั้งคนที่เท้ากว้าง และเท้าแคบ ซึ่งโดยทั่วไปคนญี่ปุ่นเองจะมีหลังเท้าสูง และเท้ากว้าง ขณะที่ชาวตะวันตกมีหลังเท้าเตี้ย และแคบ ดังนั้นคนที่ใส่รองเท้าแล้วรู้สึกว่าแคบ และแน่น ควรเลือกรองเท้าที่มีหน้ากว้าง ส่วนคนที่มีฝ่าเท้าค่อนข้างแบนไม่ควรเลือกรองเท้าที่มีส่วนที่สัมผัสฝ่าเท้าที่มีลักษณะโค้ง อย่างไรก็ตามก่อนเลือกซื้อรองเท้าควรเช็คลักษณะรูปเท้าก่อนการเลือกไซต์รองเท้าทุกครั้ง

ลักษณะรูปเท้า

กลม (round)
-กลม แบบนิ้วเท้ายาว (long and round)

เฉียง (Oblique)
-เฉียงแบบ A หัวโตยาว (oblique)

เหลี่ยม (square)
-นิ้วเท้าเหลี่ยมเท่ากัน (all square)

ช่วงเวลาสำหรับการเลือกซื้อรองเท้า

ว่ากันว่าเท้าของคุณมีความแตกต่างของขนาดเท้าระหว่างช่วงเช้า และช่วงเย็นประมาณ 0.5 – 1.0 ซม คาดว่ามาจากส่วนโค้งของฝ่าเท้าที่กว้างขึ้นจากน้ำหนักตัวที่กดลงมา และจากการยืนที่ทำให้เลือดไหลเวียนลงไปที่เท้า มีผลทำให้เท้าบวมขึ้น ดังนั้นการซื้อรองเท้าควรเป็นช่วงบ่าย ถึง ช่วงเย็น ที่เท้าขยายตัว เลือกเตรียมไว้ขณะที่เท้าใหญ่ช่วยให้ไม่ต้องลำบากในภายหลัง

การทดลองใส่รองเท้า

ขณะเลือกซื้อรองเท้า เราควรสังเกตความรู้สึกเมื่อใส่จริง หากเราสวมใส่ในระยะยาว เราจึงควรตรวจเช็คอย่างละเอียด เพราะถ้าใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้า อาจทำให้เกิดปัญหาแก่เท้า ทำให้ประสิทธิภาพและความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลงได้

 

นอกจากนี้ เวลาทดลองใส่รองเท้า แนะนำให้ใส่รองเท้า 2 ข้าง เนื่องจากบางคนมีรูปทรงเท้าซ้าย และขวา และขนาดที่แตกต่างกันไป ดังนั้นควรสังเกตความรู้สึกที่สัมผัสผ่านหลังเท้า และหลังจากที่ผูกเชือกรองเท้าด้วยว่ามีความรู้สึกเป็นอย่างไร

วิธีการทดลองใส่รองเท้า
(How to try on shoes)

ทุกคนอาจจะมองว่าการเลือกใส่รองเท้าเป็นเรื่องที่ง่าย แต่รู้หรือไม่ว่ารองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้าไม่ว่าจะมีคุณสมบัติยอดเยี่ยมอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถให้ผล
อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะต้องสังเกตุคือความรู้สึกเมื่อใส่จริง เนื่องจากเราจะต้องใส่ในระยะยาว จึงควรตรวจเช็คอย่างละเอียด เพราะ
ถ้าใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้าอาจะทำให้เกิดปัญหาแก่เท้า และทำให้เกิดการบาดเจ็บ ไม่กระชับ หรือไม่สบายเท้าระหว่างการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้
ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ทดลองใส่รองเท้าก่อนที่จะทำการเลือกซื้อ โดยการลองใส่ทั้งสองข้าง เพราะบางคนมีรูปทรง และขนาดของเท้าซ้าย และเท้าขวาที่แตกต่างกัน
จากนั้นให้เราสังเกตความรู้สึกที่สัมผัสผ่านหลังเท้า หลังผูกเชือกรองเท้าแน่นแล้ว เป็นสำคัญ เรามาทดลองสวมใส่ และเช็ครองเท้าตามนี้กันดูนะคะ

วิธีการทดลองใส่รองเท้า (How to try on)
ขั้นตอนที่ 1

เมื่อเลือกรองเท้ามาแล้วก่อนที่จะใส่เท้าลงไป ให้คลายเชือกผูกรองเท้าทั้งหมดให้หลวม เพื่อให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับนิ้วเท้าที่จะสามารถขยับเขยื้อนในรองเท้า

ขั้นตอนที่ 2

เมื่อใส่รองเท้าแล้ว
ให้ยกปลายเท้าขึ้นและ
ยกส้นเท้ากระทบพื้น
เพือให้ส้นเท้ากระชับ
กับส่วนของรองเท้า

ขั้นตอนที่ 3

ดึงส่วนลิ้นของรองเท้าให้ตึง ผูกเชือกรองเท้าจากปลายรองเท้ามาทางด้านหน้า ตามลำดับให้ครบเรียบร้อย

ขั้นตอนที่ 4

ตรวจเช็คว่าใส่พอดีหรือไม่ และใช้มือผูกเชือกรองเท้าให้แน่น

ขั้นตอนที่ 5

ตรวจเช็คดูว่านิ้วเท้าเคลื่อนไหวในรองเท้าได้หรือไม่

ขั้นตอนที่ 6

หลังจากใส่รองเท้าทั้งสองข้างแล้ว ให้ยืนเดินให้มั่นคง และลองตรวจเช็คความรู้สึกขณะใส่ว่ามีความรู้สึกหลวม หรือคับไปหรือไม่

จุดตรวจเช็ครองเท้า
(How to check shoes point)

จุดที่ 1 หลังเท้า

หากส่วนหลังเท้าหลวม อาจจะถูกขูดโดน แต่ถ้าแน่นไป อาจจะทำให้รู้สึกอึดอัดเท้า ทำให้เมื่อใส่นานๆ เมื่อย ล้าง่าย ในกรณีแน่นเกินไปให้ลองปรับ โดยการคลายเชือกผูกลองเท้าให้หลวม เพื่อคลายความแน่น

จุดที่ 2 นิ้วเท้า

เมื่อใส่รองเท้าแล้วยืน ให้เคลื่อนไหวนิ้วเท้า แล้วลองตรวจเช็คว่าเราสามารถเคลื่อนไหวนิ้วเท้าได้อย่างอิสระหรือไม่ เพราะในจุดนี้จำเป็นต้องมีพื้นที่ว่างประมาณ 1.0-1.5 ซม หากข้อนิ้วโป้ง หรือนิ้วก้อยแน่น อาจทำให้ปัญหาเกิดขึ้นกับนิ้วเท้าได้

จุดที่ 3 ส่วนโค้งของเท้า

หากส่วนรองรับ (cushion) ที่พื้นรองเท้าไม่แน่นพอดีกับส่วนโค้งของฝ่าเท้า จะทำให้ถ่วงที่ส่วนโค้งของฝ่าเท้า และอาจเป็นสาเหตุทำให้เท้าเกิดอาการเมื่อยล้า ดังนั้นคนที่ฝ่าเท้าค่อนข้างแบน ให้เลือกรองเท้าที่มีส่วนรองรับพื้นรองเท้าที่ดี

จุดที่ 4 ส้นเท้า

หากส้นเท้าลอย และรองเท้าหลุดง่ายขณะสวมใส่ เวลาเท้าสัมผัสพื้นจะไม่มั่นคง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ฉนั้นให้เลือกรองเท้าที่ ใส่แน่นพอดี และห่อหุ้นส้นเท้าอย่างดี

ข้อควรระวัง ในการทดลองใส่รองเท้า (Warning)
  • ในส่วนนิ้วเท้าที่มีส่วนปกป้องนิ้วเท้าที่แข็ง ควรระวัง
    เวลาที่ใส่เท้าเข้าไปในรองเท้า
  • ไม่ควรใส่รองเท้าโดยเหยียบส่วนส้นของรองเท้า
  • ก่อนใส่รองเท้า ควรเช็คว่าถุงเท้าย่นหรือไม่
  • ไม่ควรถอด หรือใส่รองเท้าขณะที่เชือกผูกรองเท้ายัง
    ผูกแน่นอยู่หรือยังมีส่วนทีเป็นเข็มขัดคาดอยู่

วิธีการดูแลรักษารองเท้า
(How to clean and keep shoes)

    ล้างทำความสะอาด

  • ใช้แปรงรองเท้าปัดสิ่งสกปรก ฝุ่นผง ที่ติดที่พื้นตาข่าย บริเวณที่มีการเย็บ และบริเวณที่มีเส้นหรือรอยออก
  • ใต้พื้นรองเท้าที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่ จะทำให้ความสามารถในการกันลื่นลดลง เพราะฉนั้นให้ใช้แปรงปัดฝุ่นผง และสิ่งที่อุดตันอยู่ออก
  • สิ่งสกปรกที่ไม่สามารถใช้แปรงทำความสะอาดได้ ให้ใช้น้ำอุ่น หรือน้ำอุณภูมิห้อง และใช้ผ่านุ่มเช็ดเอาสิ่งสกปรกของจากพื้นรองเท้าอย่างทั่วถึง

    ทำให้แห้ง

  • ควรหลีกเลี่ยงการตากที่โดนแสงแดดโดยตรง หลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว ให้เอาน้ำออกโดยตากในที่ร่ม อุณภูมิต่ำ และอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศได้ดี
  • ให้ใส่ และห่อซับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือ สารกำจัดความชื้นสำหรับรองเท้า จะช่วยดูดความชื้นได้มากขึ้น และจะทำให้รองเท้าแห้งง่ายมากขึ้น

   ดับกลิ่น ป้องกันเชื้อรา

  • หากรองเท้าไม่แห้งพอ หรือมีน้ำหลงเหลืออยู่ในรองเท้า จะทำให้เกิดเชื้อรา และเชื้อโรคได้ง่าย ดังนั้นควรมีความระมัดระวัง และทำให้รองเท้าแห้งสนิทเสมอ

    การเก็บรักษา

  • หลังจากตากให้แห้งแล้ว พ่นสเปรย์กันน้ำ เพื่อป้องกันและเพื่อให้เอาสิ่งสกปรกออกง่าย
  • แม้จะบำรุงรักษาอย่างทั่วถึง แต่หากใส่ทำงาน หรือทำกิจกรรมในทุกๆ วันจะเป็นการใช้แบบสะสมอย่างหนัก อาจจะทำให้เวลาของการใช้งานลดลง ดังนั้นจึงแนะนำให้เตรียมรองเท้าไว้ 2 คู่ สลับกันใส่ *โดยพักการใส่ทุก 1 วัน* หากทำตามคำแนะนำนี้จะทำให้คุณใช้งานรองเท้าได้นานกว่าที่คาดไว้

ข้อแนะนำ และข้อควรระวังเพิ่มเติม

🚫 เวลาใส่โปรดระมัดระวังอย่าเหยียบบริเวณส้นเท้า เพราะจะเป็นเหตุให้เสียรูปทรง และเท้ากระทบกระแทกกับตัวรองเท้า
🚫 เวลาถอดรองเท้าควรใช้มือถอด และไม่ควรเหยียบส้นเท้าของรองเท้า เพราะอาจจะทำให้รองเท้าเกิดความเสียหาย
🚫 หากเป็นไปได้ไม่ควรใช้น้ำล้าง ส่วนที่เป็นหัวรองเท้าที่เป็นเหล็กอาจจะไม่ขึ้นสนิม แต่ในส่วนของวัสดุส่วนบนของรองเท้า (โดยเฉพาะหนังแท้) และพื้นรองเท้าส่วนกลาง อาจะเกิดความเสียหายได้
❗ พื้นรองเท้าที่ทำจากโฟมโพลียูรีเทน จะแยกสลายด้วยน้ำ และเสื่อมสภาพได้ง่ายหากทิ้งไว้โดยไม่ใส่ ซึ่งจะเสื่อมสภาพตามกาลเวลา โดยพื้นรองเท้าจะแยกร้าว และแตกออก ดังนั้นให้ตรวจเช็คพื้นรองเท้าที่ไม่ได้ใช้ก่อนที่จะใช้งานเสมอ